|
การพิทักษ์ระบบคุณธรรมในราชการ ได้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในระบบราชการพลเรือนสามัญ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ พิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรม รวมไปถึงการออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
จากแนวทางที่กฎหมายบัญญัติให้ ก.พ.ค. มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ให้แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงทำให้ ก.พ.ค. เป็นเสมือนองค์กรด่านสุดท้ายในฝ่ายบริหารที่จะพิทักษ์ระบบคุณธรรมในระบบราชการพลเรือนสามัญให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
โครงสร้าง ก.พ.ค.
- กำหนดให้ ก.พ.ค. ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน โดยเป็นกรรมการประจำ ทำงานเต็มเวลา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว และมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค.
- ที่มาของกรรมการ ก.พ.ค. มาจากกระบวนการคัดเลือก และผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะมาพิจารณาเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ ก.พ.ค.
- คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. มีที่มาจากองค์กรฝ่ายต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงความเป็นอิสระ เป็นกลาง มีความรู้และประสบการณ์สูง อันเป็นหลักประกันว่าจะสามารถคัดเลือกคนดี คนเก่ง เข้ามาทำหน้าที่กรรมการ ก.พ.ค. ได้
เว็บไซต์ ก.พ.ค.
รายละเอียดโปรดติดตามที่ เว็บไซต์ ก.พ.ค. : http://mspc.ocsc.go.th
- 50312 reads