|
การพัฒนาข้าราชการพลเรือน
ยินดีต้อนรับสู่สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน(สพข.)
ที่ตั้ง : สำนักงาน ก.พ. นนทบุรี อาคาร 3 ชั้น 2 โทรศัพท์ : 0 2547 1806
หลักสูตรนักบริหารระดับสูง: ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1)
The civil service executive development program : visionary and moral leadership
การพัฒนาผู้นำหรือผู้บริหารของภาคราชการเพื่อให้เป็นกลไกหลักสำคัญที่จะนำการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เกิดผลในทางปฏิบัตินั้น ได้ถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญของทั้งรัฐบาลและสำนักงาน ก.พ. อย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงาน ก.พ. ได้ดำเนินการจัด การฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และได้ทำการศึกษา พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบวิธีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเสริมสร้างศักยภาพในการเป็นผู้บริหารและผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอย่างซับซ้อนและรวดเร็ว
ภายใต้แนวทางการพัฒนาผู้บริหารภาคราชการดังกล่าว สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดให้มีโครงการสร้างและพัฒนาผู้นำ “หลักสูตรนักบริหารระดับสูง : ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1)” เพื่อให้นักบริหารระดับสูงในภาคราชการได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ ความเชื่อมั่น (Trust and Confidence) และการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ประชาชน ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายและทุกภาคส่วน มีการทำงานอย่างมืออาชีพและเป็นสากล สามารถนำการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ อันจะนำไปสู่ประโยชน์สุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
- เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการหรือเทียบเท่าในการเข้าสู่ตำแหน่งประเภทบริหารเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธา จากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้อื่น ตามบทบาทหน้าที่ทางการบริหารและการมีภาวะผู้นำ (Management and Leadership Roles and Functions) ในด้าน
- การบริหารตน และการบริหารคน (Self and People Management)
- การบริหารเป้าหมายทิศทาง และการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Visioning and Change Management)
- การบริหารผลลัพธ์ และการบริหารทรัพยากรที่มุ่งสู่ผลลัพธ์ (Results and Resources Management)
- เพื่อพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ตระหนักถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความสามารถทางการบริหารและการมีภาวะผู้นำ เพื่อชีวิตและการทำงานในบริบทสภาวะแวดล้อม
ที่เปลี่ยนแปลง โดยกำหนดจุดเน้นของการพัฒนาในเรื่องของการตัดสินใจ การสื่อสาร การประสานงานประสานสัมพันธ์ การปรับตัวและความยืดหยุ่น จิตมุ่งบริการ และการบริหารทรัพยากร
ปรัชญา
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีภาวะผู้นำ และความสามารถในการบริหารจัดการคุณภาพงานและคุณภาพชีวิตของตนเองและผู้อื่นได้ในปัจจุบัน และสอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของบทบาทหน้าที่การงานและชีวิตในอนาคต ซึ่งนำไปสู่การได้รับการยอมรับ ความเชื่อมั่น และความศรัทธา (Trust and Confidence) จากผู้รับบริการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน และจากทุกภาคส่วน
แนวคิด
- เป็นหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการทำหน้าที่การบริหารจัดการและบทบาทภาวะผู้นำ (Management and Leadership Roles and Functions) ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันในมิติต่าง ๆ ได้แก่ การบริหารตนและการบริหารคน การบริหารเป้าหมายทิศทาง และการบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารผลลัพธ์ และการบริหารทรัพยากร และเทคโนโลยีการทำงาน
- ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้พัฒนาตนเอง (Personal Development) และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้อื่นด้วยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
- จัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถตอบสนองรูปแบบ (Styles) ความต้องการและความจำเป็นเฉพาะตน (Individual Needs) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการและภาวะผู้นำได้ โดยให้ความสำคัญกับเครื่องมือและกระบวนการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) การบริหารแผนการพัฒนาเฉพาะตน (Individual Development Plan) ที่เชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาของส่วนราชการ (Organization HRD Plan)
- พัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการที่เหมาะสม ทันสมัย โดยเน้นทั้งสมรรถนะที่เป็นสากลและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับบริบทราชการไทย
- เป็นหลักสูตรที่สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างครบถ้วนสมดุลในทุกมิติ ได้แก่ การเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ (Learning to Learn) การเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติตามรูปแบบภาวะผู้นำและการบริหารจัดการของตนในสถานการณ์ต่าง ๆ (Learning to do) การเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง (Learning to be) และการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลายของบุคคลและสังคม (Learning to Live with Others) เพื่อให้นักบริหารระดับสูงได้พัฒนาทั้งในด้านความรู้ การปฏิบัติ การมีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดีในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และสามารถแสดงภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมในสภาพสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย
สมัครเข้าร่วมฝึกอบรม: นักบริหารระดับสูง (นบส.1)
รายละเอียดโครงการ: ดาวน์โหลด
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การปฐมนิเทศ
เป็นการฝึกอบรมแบบอยู่ประจำ และไป – กลับ ประกอบด้วยกิจกรรมการชี้แจงรายละเอียดหลักสูตร การประเมินบุคลิกภาพเพื่อการพัฒนา (MBTI) การพัฒนากระบวนการคิดของนักบริหาร การวางแผนการจัดทำรายงานการศึกษากลุ่ม การฝึกปฏิบัติการวางแผนการพัฒนาตนเอง และการพัฒนาภาวะผู้นำและเครือข่ายผู้บริหาร
ช่วงที่ 2 การฝึกอบรม 4 หมวดวิชา
เป็นการฝึกอบรมแบบอยู่ประจำและไป - กลับ เน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจในสมรรถนะนักบริหาร ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง การเรียนรู้จากประสบการณ์และการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การผลักดันหรือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เนื้อหาประกอบด้วย
- หมวดวิชาที่ 1 ภาวะผู้นำและการบริหารราชการ กับบริบทการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (Management and Leadership in the 21st Century)
วัตถุประสงค์ของหมวดวิชา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นความสำคัญและเข้าใจในเรื่องของภาวะผู้นำและบทบาทหน้าที่ของนักบริหารในการบริหารราชการ โดยสามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และภาวะผู้นำดังกล่าวให้สอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในบริบทภาครัฐในมิติต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
- หมวดวิชาที่ 2 บทบาทหน้าที่ของนักบริหารระดับสูง ด้านการบริหารทิศทาง นโยบาย และการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Visioning, Managing Direction and Change)
วัตถุประสงค์ของหมวดวิชา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะ สมรรถนะ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ การกำหนดทิศทางการบริหารราชการ การสร้างธรรมาภิบาล การสร้างการเปลี่ยนแปลง การสร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการและประเมินผลการเปลี่ยนแปลง ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและการจัดบริการสาธารณะ ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคมและการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- หมวดวิชาที่ 3 บทบาทหน้าที่ของนักบริหารระดับสูง ด้านการบริหารผลงานกับการบริหารจัดการด้านทรัพยากร และเทคโนโลยี (Managing Results, Resources, and Technology)
วัตถุประสงค์ของหมวดวิชา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารราชการ ด้านการจัดสรรและบริหารทรัพยากร วิทยาการ และเทคโนโลยี เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเน้นในเรื่องการบริหารจัดการทางการเงิน การบริหารจัดการทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การจัดการทรัพยากรทางกายภาพและวิทยาการ การบริหารจัดการข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การบริหารแผนงานและโครงการ การสื่อสารแผนงานและโครงการ และการบริหารผลงาน คุณภาพและบริการ
- หมวดวิชาที่ 4 บทบาทหน้าที่ของนักบริหารระดับสูง ด้านการบริหารตน และการบริหารคน (Managing Self and Others)
วัตถุประสงค์ของหมวดวิชา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาความสามารถ ในการบริหารตน (Managing Self) และมีภาวะผู้นำในการทำงานกับผู้อื่น (Working with People) ได้อย่างสมดุล
ช่วงที่ 3 การศึกษาดูงานในประเทศ และต่างประเทศ
ช่วงที่ 4 ปัจฉิมนิเทศ
หลักเกณฑ์การสำเร็จการฝึกอบรม
1) ระยะเวลาการฝึกอบรม
ช่วงที่ 1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมครบ ๑๐๐% หากเข้ารับการอบรมในส่วนนี้ไม่ครบ 100% จะไม่สามารถเข้ารับการอบรมในช่วงต่อไปได้
ช่วงที่ 2 – 4 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 80%
2) ผลการศึกษา
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องจัดทำรายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study) รายงานการศึกษากลุ่ม (Group Project) และรายงานการศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารวิชาการของหลักสูตร
3) การประพฤติปฏิบัติตน
เป็นผู้มีความประพฤติเหมาะสมตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม หมายถึง การปฏิบัติตนระหว่างการอบรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการเข้าเรียน ความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ การอุทิศตน ความร่วมแรงร่วมใจ ภาวะผู้นำ และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียหรือเป็นความเสียหายต่อราชการ
วิธีการฝึกอบรม
เน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เพิ่มน้ำหนักความสำคัญกับการพัฒนาศึกษาด้วยตนเอง การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง การนำบทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงดังกล่าวไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกันโดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process) และการสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ภายใต้คำปรึกษาแนะนำ การสอนแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาด้านการเรียนรู้ (Learning Facilitators) ตลอดจนมีโอกาสไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ในหน่วยงานธุรกิจ ส่วนราชการ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สถานที่ดำเนินการ
- พิธีเปิด ณ ห้องประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงาน ก.พ. จังหวัด นนทบุรี
- ช่วงที่ 1 การปฐมนิเทศ แบบอยู่ประจำร่วมกันในต่างจังหวัด
- ช่วงที่ 2 ช่วงการฝึกอบรม 4 หมวดวิชา แบบไป – กลับ ณ สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี
- ช่วงที่ 3 การศึกษาดูงานในประเทศ และต่างประเทศ
- ช่วงที่ 4 ปัจฉิมนิเทศ
# | ชื่อ-นามสกุล | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|
1 | นายอริยะ สกุลแก้ว (ผอ.วิทยาลัยนักบริหาร) | 02-547-1000 ต่อ 1744 |
2 | นางสาววิชชุดา ตันเรืองชาติ | 02-547-6982 |
3 | นายเวชยันต์ เอี่ยมสุธน | 02-547-1770 |
4 | นางสาวปุณณัฐฐา ชัยศิริวงษ์ | 02-547-2059 |
5 | นางสาวจันจิรา ไชยาพร | 02-547-1765 |
6 | นางสาวคณาภัทร ดายะ | 02-547-1775 |
ประกาศ และกำหนดการต่าง ๆ
- นร 1013.1/94 เรื่องกรอบมาตรฐานหลักสูตรนักบริหารระะดับสูง (ฉบับปี พ.ศ. 2563) New
- นร 1013.1/99 เรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูงและผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริการระดับสูงที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นที่ ก.พ. รับรอง New
- นร 1013.1/178 เรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูงและผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นที่ ก.พ. รับรอง (2565) New
เอกสารดาวน์โหลด
- ว 4/2563 เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูงและผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นที่ ก.พ. รับรอง
- ว 13/2562 เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูงและผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นที่ ก.พ. รับรอง
- หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013.1/43 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูงและผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่จัดโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นที่ ก.พ. รับรอง
- หนังสือเวียนกรอบมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง (ฉบับปี พ.ศ. 2559) เอกสารแนบ 1 เอกสารแนบ 2
รายละเอียดโครงการ: ดาวน์โหลด
รายชื่อผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส. 1)
รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study)
รุ่นที่ 23 | รุ่นที่ 24 | รุ่นที่ 25 | รุ่นที่ 26 | รุ่นที่ 27 | รุ่นที่ 28 | รุ่นที่ 29 | รุ่นที่ 30 | รุ่นที่ 31 | รุ่นที่ 32 |
รุ่นที่ 33 | รุ่นที่ 34 | รุ่นที่ 35 | รุ่นที่ 36 | รุ่นที่ 37 | รุ่นที่ 38 | รุ่นที่ 39 | รุ่นที่ 40 | รุ่นที่ 41 | รุ่นที่ 42 |
รุ่นที่ 43 | รุ่นที่ 44 | รุ่นที่ 45 | รุ่นที่ 46 | รุ่นที่ 47 | รุ่นที่ 48 | รุ่นที่ 49 | รุ่นที่ 50 | รุ่นที่ 51 | รุ่นที่ 52 |
รุ่นที่ 53 | รุ่นที่ 54 | รุ่นที่ 55 | รุ่นที่ 56 | รุ่นที่ 57 | รุ่นที่ 58 | รุ่นที่ 59 | รุ่นที่ 60 | รุ่นที่ 61 | รุ่นที่ 62 |
รุ่นที่ 63 | รุ่นที่ 64 | รุ่นที่ 65 | รุ่นที่ 66 | รุ่นที่ 67 | รุ่นที่ 68 | รุ่นที่ 69 | รุ่นที่ 70 | รุ่นที่ 71 | รุ่นที่ 72 |
รุ่นที่ 73 | รุ่นที่ 74 | รุ่นที่ 75 | รุ่นที่ 76 | รุ่นที่ 77 | รุ่นที่ 78 | รุ่นที่ 79 | รุ่นที่ 80 | รุ่นที่ 81 | รุ่นที่ 82 |
รุ่นที่ 83 | รุ่นที่ 84 | รุ่นที่ 85 | รุ่นที่ 86 | รุ่นที่ 87 | รุ่นที่ 88 | รุ่นที่ 89 | รุ่นที่ 90 | รุ่นที่ 91 | รุ่นที่ 92 |
รุ่นที่ 93 | รุ่นที่ 94 | รุ่นที่ 95 | รุ่นที่ 96 | - | - | - | - | - | - |
รายงานการศึกษากลุ่ม (Group Project)
รุ่นที่ 23 | รุ่นที่ 24 | รุ่นที่ 25 | รุ่นที่ 26 | รุ่นที่ 27 | รุ่นที่ 28 | รุ่นที่ 29 | รุ่นที่ 30 | รุ่นที่ 31 | รุ่นที่ 32 |
รุ่นที่ 33 | รุ่นที่ 34 | รุ่นที่ 35 | รุ่นที่ 36 | รุ่นที่ 37 | รุ่นที่ 38 | รุ่นที่ 39 | รุ่นที่ 40 | รุ่นที่ 41 | รุ่นที่ 42 |
รุ่นที่ 43 | รุ่นที่ 44 | รุ่นที่ 45 | รุ่นที่ 46 | รุ่นที่ 47 | รุ่นที่ 48 | รุ่นที่ 49 | รุ่นที่ 50 | รุ่นที่ 51 | รุ่นที่ 52 |
รุ่นที่ 53 | รุ่นที่ 54 | รุ่นที่ 55 | รุ่นที่ 56 | รุ่นที่ 57 | รุ่นที่ 58 | รุ่นที่ 59 | รุ่นที่ 60 | รุ่นที่ 61 | รุ่นที่ 62 |
รุ่นที่ 63 | รุ่นที่ 64 | รุ่นที่ 65 | รุ่นที่ 66 | รุ่นที่ 67 | รุ่นที่ 68 | รุ่นที่ 69 | รุ่นที่ 70 | รุ่นที่ 71 | รุ่นที่ 72 |
รุ่นที่ 73 | รุ่นที่ 74 | รุ่นที่ 75 | รุ่นที่ 76 | รุ่นที่ 77 | รุ่นที่ 78 | รุ่นที่ 79 | รุ่นที่ 80 | รุ่นที่ 81 | รุ่นที่ 82 |
รุ่นที่ 83 | รุ่นที่ 84 | รุ่นที่ 85 | รุ่นที่ 86 | รุ่นที่ 87 | รุ่นที่ 88 | รุ่นที่ 89 | รุ่นที่ 90 | รุ่นที่ 91 | รุ่นที่ 92 |
รุ่นที่ 93 | รุ่นที่ 94 | รุ่นที่ 95 | รุ่นที่ 96 | - | - | - | - | - | - |
รายงานการศึกษาดูงาน
รุ่นที่ 83 | รุ่นที่ 84 | รุ่นที่ 85 | รุ่นที่ 86 | รุ่นที่ 87 | รุ่นที่ 88 | รุ่นที่ 89 | รุ่นที่ 90 | - | - |